เมนู

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมทายได้แม้ซึ่งจิต แม้ซึ่งการที่ตรึก แม้
ซึ่งการที่ตรอง ของสัตว์อื่น ๆ ของบุคคลอื่น ๆ ว่าใจของเป็นอย่างนี้
บ้าง ใจของท่านเป็นโดยประการนี้บ้าง จิตของท่านเป็นฉะนี้บ้าง
ดังนี้1
เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น เจตสิกธรรมก็มีอยู่ น่ะสิ.
เจตสิกกถา จบ

อรรถกถาเจตสิกกถา



ว่าด้วย เจตสิก



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเจตสิก คือสภาวธรรมที่ประกอบจิต. ในเรื่องนั้น
ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะ และสิทธัตถิกะ
ทั้งหลายว่า ธรรมทั้งหลายชื่อว่า ผัสสิกะ คือธรรมที่ประกอบกับผัสสเจตสิก
เป็นต้นไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น แม้เจตสิกก็ไม่พึงมี เจตสิกธรรมก็ไม่มี
ดังนี้คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
คำว่า ผัสสะเกิดร่วมกับจิต ที่สกวาทีกล่าวแล้ว หมายเอาการเกิดพร้อม
กันของสัมปยุตตธรรม. คำถามว่า ชื่อว่าผัสสิก ย่อมมีแก่สกวาทีผู้ไม่เห็น
อยู่ซึ่งโวหารเช่นนั้น. เมื่อปรวาทีกล่าวคำว่า ชื่อว่า เจตสิก เพราะอรรถว่า
อาศัยจิตโดยโวหารมีอยู่ ฉันใด เจตสิก แม้นั้นชื่อว่า ผัสสิก เพราะอรรถ
ว่า อาศัยผัสสะฉันนั้นหรือ คำตอบรับรองเป็นของสกวาทีเพราะคำนั้น
ไม่ผิด. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
อรรถกถาเจตสิกกถา จบ
1. ที. สี. 9/340.

ทานกถา



[1139] สกวาที ทาน คือ เจตสิกธรรม หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. จะให้เจตสิกธรรมแก่คนอื่น ๆ ก็ได้หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จะให้เจตสิกธรรมแก่คนอื่น ๆ ก็ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จะให้ผัสสะแก่คนอื่น ๆ ก็ได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จะให้เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ
สมาธิ ฯลฯ ปัญญา แก่คนอื่น ๆ ก็ได้หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1140] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือเจตสิกธรรม หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ทาน มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่
เป็นที่ฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ทานมีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ
มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า ทาน มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผล